ช่วงเวลาแห่งความสนุกที่เรา ” เลือกได้ ”
ปัจจุบันโรงเรียนสำหรับเด็กๆ ไม่เพียงแต่มีหน้าที่ในการเป็นผู้สร้างความรู้และชี้แนวทางในการเลือกประกอบอาชีพในอนาคตของเด็กเท่านั้น แต่ยังต้องสอนทักษะชีวิต นิสัยและทัศนคติที่จำเป็น ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จในการก้าวสู่วัยผู้ใหญ่ในการมอบประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีที่สุดให้กับนักเรียนต้องใช้ทั้งการสอนในภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เพื่อเรียนรู้โลกกว้างด้วย
โรงเรียน หรือศูนย์การเรียนรู้ต่างๆจึงเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่จะต้องมีสนามเด็กเล่น หรือเครื่องออกกำลังกาย ในแบบกลางแจ้งและภายในอาคาร เด็กๆ จะได้ใช้พื้นที่เหล่านี้ ให้เกิดประโยชน์ การปล่อยให้เด็กๆได้เล่น ได้เลอะ ได้สัมผัส พวกเขาจะได้ทั้งความสนุก และ สร้างการรับรู้ที่ดี ในทุกๆสถานการณ์ที่ได้เผชิญกับเครื่องเล่นต่างๆ การกระโดด ลื่นไถล ปีนป่าย ไต่ คลาน
กิจกรรมเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระตุ้นให้พวกเขามีความพยายามในการฝ่าฟันมันไปให้ได้ ซึ่งเป็นข้อดีจากการเล่นของเด็กทุกคน
แต่ … เพียงแค่เสี้ยววินาที
ในขณะที่เด็กๆกำลังออกแรงปีนป่ายอยู่นั้น
เครื่องเล่นสนามที่ไม่ได้คุณภาพหรือ ” เก่า ชำรุด “
กลับ “ พลิกคว่ำ “ ไม่เป็นท่า
เหตุการณ์ที่เราได้หยิบยกมา ” จากคู่มือสนามเด็กเล่นปลอดภัย โดยคณะอนุกรรมการวิชาการคุ้มครองความปลอดภัยของสนามเด็กเล่น อุปกรณ์ เครื่องเล่นสนามและอุปกรณ์ออกกำลังกายสนาม “
กรณีที่ 1 “กระดานลื่น ทับเด็กสยองกลางโรงเรียน”
แค่ฟังชื่อก็ดูน่ากลัว แต่เหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อของครูผู้ดูแลเด็กนักเรียนวัย 6 ปี ที่กำลังเล่นอยู่ในสนามเด็กเล่นเพื่อรอ ผู้ปกครองมารับกลับบ้าน โดยคุณครูปล่อยให้เด็กเล่นอยู่เพียงลำพัง ชุดอุปกรณ์เครื่องเล่นที่มีกระดานลื่น ทำด้วยเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว สูง 1.50 เมตร ยาว 3 เมตร มีน้ำหนักเกือบ 100 กิโลกรัม และไม่มีตัวยึดติดพื้น เด็กเล่นอย่างไม่ถูกวิธี ทำการเขย่าเครื่องเล่นและปีนป่ายขึ้น-ลงอย่างแรงทำให้เครื่องเล่นซึ่งมีน้ำหนักมากล้มทับร่างเด็ก ศีรษะฟาดกับพื้นตัวหนอนอิฐบล๊อค เสียชีวิต
สาเหตุ เกิดจากการขาดการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ในวิธีการเล่นของเด็กไม่มีใครที่เป็นผู้ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องหรือตักเตือนให้เกิดความระมัดระวังในการเล่น
กรณีที่ 2 “เครื่องเล่นเก่า ล้มทับเด็ก 6 ขวบ เสียชีวิตและอาการสาหัส”
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นภายในโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ประมาทโดยการนำเครื่องเล่นเก่าที่ชำรุดมาให้เด็กๆได้เล่นกัน ในเวลาเลิกเรียน มีนักเรียนหญิงอายุ 6 ปี หลายคน มานั่งเล่นบนเครื่องเล่น ซึ่งมีลักษณะเป็นท่ออุโมงค์ที่ผลิตจากถัง 200 ลิตร จำนวน 2 ใบต่อกัน และมีบันไดลิงเหล็กขนาดเล็กเป็นบันไดขึ้น-ลง เครื่องเล่นอุโมงค์ได้ล้มทับเด็กจนทำให้มีเด็กได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
สาเหตุ เกิดจาการที่โรงเรียนไม่มีการจัดเก็บ หรือทำลายเครื่องเล่นที่ชำรุด หรือไม่ใช้แล้ว ออกจากพื้นที่ที่เด็กยังสามารถเล่นได้ และควรเปลี่ยนเครื่องเล่นที่ชำรุด ไม่ได้คุณภาพออกจากโรงเรียน
กรณีที่เกิดขึ้นทั้ง 2 เหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นภายในโรงเรียนหรือสถานศึกษา ซึ่งเป็นแหล่งศึกษาวิชาความรู้ ที่ผู้ปกครอง ผู้เป็นพ่อเป็นแม่ ทุกคน หวังให้ลูกได้รับวิชาความรู้ สร้างประสบการณ์และสิ่งดีๆเพื่อเป็นรากฐานในการสร้างอนาคตที่ดีของลูก ทั้งสิ้น ด้วยความไว้ใจในบทบาทหน้าที่ของผู้ที่เป็นครู ประดุจดั่งเป็นผู้ปกครอง หรือ พ่อแม่ คนที่สองของเด็กทุกคน การให้ความสำคัญในการเพิ่มวิชา ความรู้ให้กับเด็กก็เรื่องหนึ่ง แต่การดูแลเพื่อให้เค้าเหล่านั้นได้เรียนรู้การใช้ชีวิต ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญเช่นกัน
ครู จึงนับได้ว่าเป็นผู้สร้างสรรค์และเป็นผู้เลือกสิ่งต่างๆที่ดีให้กับเด็กๆอยู่เสมอ เช่น การเลือกที่จะใส่ใจในการเรียนรู้ ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน ดูแลในทุกเวลาของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงวัยเด็กเล็ก
ครูยังเป็นผู้เลือกใช้สื่อการสอนที่เหมาะสมกับเด็ก เลือกช่องทางในการพัฒนาการต่างๆของเด็กให้ รวมทั้งการเลือกของเล่นและสนามเด็กเด็กเล่น เป็นอุปกรณ์ที่แข็งแรง ปลอดภัย ส่งเสริมศักยภาพด้านร่างกายของเด็กได้อีกด้วย
เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ร้ายๆซ้ำแล้วซ้ำอีก
พ่อ แม่ ผู้ปกครอง รวมถึงครูผู้ดูแลเด็กๆจะต้องตระหนักถึงความปลอดภัย
เฝ้าดูทุกพัฒนาการของเด็กอย่างใกล้ชิด สนับสนุนให้เด็กๆ
ได้ใช้อุปกรณ์และเครื่องเล่น ที่มีคุณภาพที่ดี
จะได้เกิดประโยชน์ต่อการเล่นเพื่อการเรียนรู้อย่างแท้จริง
ไม่ให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นกับเด็กๆเหมือนที่ผ่านมา